เลือกภาษา
061-878-2896
ตะกร้าสินค้า [0]
X
ไม่มีสินค้าในตระกร้าสินค้าของคุณ
หน้าหลัก > สาระน่ารู้ > "กลิ่น" เคมีแห่งความรัก หอมหวน..ตราตรึง
"กลิ่น" เคมีแห่งความรัก หอมหวน..ตราตรึง
เขียนโดย zeemone เมื่อ Thu 03 Nov, 2016

SCI Cover Story วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี 

ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2551 

 

เชื่อว่าช่วงเวลา รักแรกเจอ หรือ Love at first sight อาจเคยเกิดขึ้นกับคุณมาแล้วในชีวิต และ บางคนก็มักพูดติดตลกว่า รักแรกเจอของตนเอง นั้นเกิดขึ้นแทบทุกวัน เคยสงสัยกันไหมว่า รัก ในแรกพบประสบพักตร์นี้ เกิดด้วยเหตุผลกลใด จากความเห็นที่พิจารณาด้วยความรู้สึก คุณอาจอธิบายได้ว่ามันเป็นเรื่องของหัวใจ ใช้กระบวนการใดก็พิสูจน์ได้ แต่ถ้าจะมองให้มันเป็นเรื่องราวที่มีเหตุมีผลแบบวิทยาศาสตร์ล่ะ เราจะมองอย่างไร 

 

       รู้หรือไม่ว่า วิทยาศาสตร์เชื่อว่าหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนตกหลุมพรางความรักตั้งแต่ แรกดมเลย คือ กลิ่น และคุณอาจเป็นคนหนึ่งในนั้นที่เผลอตกหลุมรักใครสักคนเพียงเพราะ “กลิ่น”

 

ความลับของกลิ่นความรัก

       นานแล้วที่มนุษย์ใช้เครื่องหอมเพื่อการตกแต่งกลิ่นหายให้น่าเย้ายวน ใจ และเพื่อดึงดูดคู่รักของตน รวมถึงการเข้าสังคม โดยที่ยังไม่ได้พิสูจน์ทดลองใด ๆ ว่ามีเพียงความเชื่อว่ากลิ่นหอมจะกระตุ้นความสนใจได้ แต่แล้วยุคหนึ่งมีค้นพบว่า สัตว์ได้ใช้ประโยคของกลิ่น ในการดำรงเผ่าพันธุ์โดยกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านั้นได้ซุกซ่อนสารเคมีที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromone)

 

       โดยสารเคมีชนิดนี้ซุกซ่อนอยู่จากการค้นพบใน การคัดเลือกโดยธรรมชาติของชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) กลิ่นรักนี้เองที่ทำให้สัตว์เกิดความเสน่หาและต้องการสืบพันธุ์ และเรื่องราวของกลิ่นที่สัตว์ใช้เพื่อกระตุ้นอารมณ์ หรือพูดได้ว่ามันใช้ในการสื่อสารที่มี การใช้ประโยชน์จากกลิ่นนี้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ หนึ่ง การใช้เพื่อป้องกันตัว พวกแมลงที่มีกลิ่นเหม็นต่าง ๆ สอง ใช้เพื่อสื่อสาร และสาม ใช่เพื่อการดึงดูด สร้างเสน่ห์ อย่างที่พบได้ในสัตว์ต่าง ๆ อาทิ กวางมูส ที่มีต่อมน้ำหอมซึ่งจะคอยปล่อยกลิ่น และชะมดเช็ด

แต่กับมนุษย์และสัตว์ตระกูลไพรเพตอย่างลิง กลับถูกปฏิเสธเสมอมาว่า มนุษย์ไม่มีสารเคมีอย่างสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่ดึงดูดด้วยกลิ่น เพราะธรรมดาแล้วมนุษย์น่าจะถนัดเรื่องกลิ่นตัวที่เหม็นมากกว่า และหากมนุษย์จะจัดเข้ากับประเภทของกลิ่น ก็น่าใช้กลิ่นเพื่อการสื่อสารเสียมากกว่า

 

       แต่แล้วการวิจัยในปัจจุบันพบว่า มนุษย์ไม่ต่างจากสัตว์อื่น ๆ ที่ฟีโรโมนมีอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วย เพราะ มีการศึกษาแล้วพบว่า ในจมูกทั้ง 2 ข้างของมนุษย์ที่สูดอากาศดมกลิ่นนี้จะสามารถรับสารฟีโรโมนได้ด้วย 

 

       พอล บราคา (Paul Broca) แพทย์ชาวฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาเรื่องทักษะการดมกลิ่น โดยเปรียบเทียบระหว่าง ลิง ลิงเอป์ (Ape) และคน พบว่าทักษะการดมกลิ่นของทั้ง 3 ชนิด มีความเชื่อมโยง พัฒนามาจากสัตว์ สี่เท้า นี่จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่ามนุษย์ผลิตและรับสาร ฟีโรโมนได้

 

ฟีโรโมนกับความรัก

       ฟีโรโมน ซึ่งในบางครั้งก็มีผู้เรียกว่าสารเคมี แห่งความรักและความใคร่นี้ เกิดขึ้นจากหลัก ๆ จาก 3 ต่อมผิวหนังในร่างกาย ได้แก่ 

       - ต่อมผลิตไขมัน (Sebaceous glands) พบมากบริเวณใบหน้า หน้าผาก และปรากฏอยู่ทั่วร่างกาย หนังตา หู จมูก เป็นต้น

       - ต่อมเหงื่อ (Eccrine sweat glands) พบได้ทั่วร่างกาย 

       - ต่อมที่เกี่ยวกับการสร้างกลิ่นตัว ซึ่งทำงานสัมพันธ์กับฮอร์โมนเพศ (Apocrine glands) ต่อมนี้คือเบื้องหลังคำว่า กลิ่นหนุ่ม กลิ่นสาว และเป็นต่อมสำคัญในการสร้างฟีโรโมนมนุษย์ ที่ถือได้ว่าเป็นต่อมพิเศษด้านกลิ่น และความรักและอารมณ์พิศวาส ซึ่งกลิ่นที่ออกมาพร้อมสารเคมีพิเศษนี้สามารถส่งผลกระทบระหว่างบุคคลได้ นั่นหมายความว่าเมื่อกลิ่นนี้ถูกขับออกมาจากบุคคลหนึ่ง แล้วมีบุคคลอื่นอยู่ใกล้ ๆ และได้รับ ก็อาจ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางความรู้สึกได้เลยทีเดียว 

 

       ต่อม Apocrine glands ทำงานได้โดยไม่จำกัดอุณหภูมิ แต่จะพัฒนาใช้การได้เริ่มในวัยหนุ่ม-วัยสาว อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไปจนถึง 15 ในช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยจะปรากฏอยู่บริเวณมือ แก้ม หนังศีรษะ หน้าอก เป็นต้น

 

       จากต่อมทั้ง 3 นี้ จะเห็นได้ว่าบางสิ่งที่เกิดขึ้น ในร่างกาย บางครั้งเราเคยได้รับผลของมัน ซึ่งเกิดขึ้นเพราะสารแห่งความรักที่เรียกว่า ฟีโรโมน หากบางคน ยังสงสัยว่ามีอยู่จริงหรือ ลองนึกดี ๆ ว่าคุณเคยจดจำคนคนหนึ่งจากกลิ่นของเขาหรือไม่ ไม่ว่ากลิ่นเรือนผม จดจำจากกลิ่นหอมจากแก้ม นี่ล่ะฟีโรโมนมนุษย์และต่อมสร้างกลิ่น

 

ฟีโรโมน เคมีความรักอันลึกลับ

       อย่างที่ได้ทราบถึงต่อมต่าง ๆ ที่มีผลต่อ การสร้างกลิ่นแห่งความรักของมนุษย์ จะเห็นว่า ฟีโรโมนมนุษย์ไม่เพียงควบคุม ส่งผลต่ออารมณ์เท่านั้น แต่ยังสามารถส่งผลต่อความรู้สึกที่ซับซ้อนของอารมณ์รัก ด้วย โดยเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่า มนุษย์ยังหลังเหลือมรดกทางพฤติกรรมจากสัตว์ เช่น ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่Apocrine glands จะคอยปล่อยกลิ่นเพื่อสื่อสารและ การรับรู้ในการเจริญพันธุ์ จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการสื่อสารแห่งความรักด้วยความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งต่อ กัน

 

       ในปี 1986 ได้มีองค์กรระดับโลกที่ทำการสำรวจด้านกลิ่นหอม กลิ่นมนุษย์ใช้ปรุงแต่งร่างกาย และกลิ่นต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน ในแบบสอบถามกว่าล้านฉบับ พร้อมยกตัวอย่างกลิ่นต่าง ๆ รวมถึงกลิ่นที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์รักของมนุษย์นั้น ได้ผลออกมาว่า กลิ่นที่นั้น ๆ ไม่สร้างผลใด ๆ รวมถึงค้นหาผลกระทบของกลิ่นต่าง ๆ โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะการทดสอบด้านกลิ่นนี้ ไม่ได้ผล เนื่องจากการสังเคราะห์กลิ่นขึ้นมาไม่ใช่กลิ่น ที่แท้จริง จึงไม่ทำให้เกิดผล โดยมันพิสูจน์ว่าการค้นหา ฟีโรโมนนั้นเป็นเรื่องยากที่จะวัดหรือสำรวจได้ชัดเจน 

 

 

กลิ่นกับคู่รัก ลึกลับซับซ้อน

       มีการศึกษาจากมากมายหลายครั้งเกี่ยวกับ การทดสอบว่า กลิ่นมีส่วนกับความชื่นชอบ ชื่นชม และมีเสน่ห์ที่ทำให้เกิดความหลงใหล ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ โดยมีข้อสันนิฐานคล้ายกัน คือ เพศชายมีความสามารถส่งกลิ่นที่ทำให้เพศตรงข้ามใหลได้ดีกว่า โดยจากการหนึ่งที่พิสูจน์ว่าเพศชายมีความสามารถส่งกลิ่นรักมากกว่า คือ การศึกษาของนักชีววิทยา จาก Cardiff University ประเทศเวลล์ ที่ร่วมมือกับ สมาคมวิทยาศาสตร์ Max-Plank Society จากประเทศเยอรมนี ได้ทำการศึกษาปลาสติกเคิลแบกค์ (Stickleback fish) เพื่อดูการตอบสนองต่อเคมีความรัก

 

       นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาพบว่า เพศผู้ มีกลิ่นกายที่ดึงดูดอย่างจำเพาะต่อ เพศเมีย จนทำให้ผลิตเปปไทด์ ซึ่งจะทำไปสังเคราะห์รวมกับเพื่อผลิตน้ำหอม มีคุณสมบัติในการเพิ่มความดึงดูดทางเพศของผู้ชายให้มากขึ้น และยังมีความสำคัญต่อการค้นหาคู่ที่เหมาะสมเข้าคู่กันอีกด้วย ดังนั้น หากกล่าวง่าย ๆ คือ เคมีจากร่างกายเพศผู้นั้นจะเชื่อมโยงกันกับเคมีของเพศเมีย ที่มีกระบวนการหนึ่งของร่างกายที่เรียกว่า Major Histocompatibility Complex (MHC) มีหน้าที่เพื่อดักจับ แยกแยะสาร หรือโมเลกุลใดที่ผิดปกติ ซึ่งเป็นเปปไทด์ที่เพศเมียปล่อยออกมาเมื่อได้กลิ่นจากเพศผู้นั่นเอง ที่อาจเรียกว่าจะเข้ากันได้ รักกันได้นั้นต้องเข้ากันตั้งแต่ระดับ ยีนเลย

 

กระบวนการของ MHC และ Peptide

       นักชีววิทยา ดอกเตอร์เซียน กริฟฟีตส์ (Dr. Sian Griffiths) กล่าวถึงการทดลองว่า กระบวนการนี้ถือเป็นการสื่อสารเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ และคัดเลือกคู่ซึ่ง มีอยู่สัตว์ต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์ก็ใช้กระบวนการเดียวกันนี้

       ความ รักลึกลับซับซ้อนเกินกว่าจะพิสูจน์อะไรได้ง่าย ๆ แต่วิทยาศาสตร์นั้นก็ยังคงความเป็นศาสตร์แห่งเหตุและผล ที่พยายามพิสูจน์ว่า รักเกิดเพราะอะไร แม้จะไม่อาจสรุปชัดเจน แต่วันนี้ก็รู้แล้วว่า เราควรพิถีพิถันเลือกน้ำหอมหรือรักษาเนื้อตัวให้มีกลิ่นกายที่น่าหลงใหล เพื่อให้กระบวนการร่างกายเราได้ปล่อยสารเคมีแห่งความรักไปกับกลิ่น เพื่อให้รักของเราลึกซึ้ง ลึกไปในระดับพันธุกรรม ลึกกว่าใครมองเห็น และลึกซึ้งตลอดไป...

 

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

1. www.sciencedaily.com 

2. www.psychologytoday.com

© 2024 Zeemone All Rights Reserved. Powered By